วันเสาร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2555

การป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก


                                

 


- เวลามีเพศสัมพันธ์ก็ควรใช้ถุงยางเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
- ควรรับการตรวจภายในเป็นประจำทุกปี และสม่ำเสมอ
- ภาวะที่มีsexครั้งแรกก็ควรจะตรวจได้แล้วไม่ว่าอายุเท่าไหร่ แต่ถ้าสาวโสดควรตรวจเมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป
- ไม่มีคู่นอนหลายคน
- ตอนนี้มีวัคซีนป้องกันแล้ว แต่จะให้ได้ผลดี ควรฉีดก่อนที่จะมีsexครั้งแรก ซึ่งปัจจุบันนี้เด็กไทยมีsexกันตั้งแต่ม.ต้น บางคนก็ประถมด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นควรฉีดตั้งแต่อนุบาล  แต่วัคซีนนั้นก็มีราคาค่อนข้างแพง แถมต้องฉีดสามเข็มด้วย ถ้ายังไม่ไปฉีดก็รักษาตัวเองให้ดี อย่าสำส่อน อย่าประมาทโดยไม่ใช้ถุงยาง


ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.perfectwomaninstitute.com/cancer-woman.php
http://www.vibhavadi.com/web/health_detail.php?id=406
http://www.oknation.net/blog/sukit/2012/05/24/entry-1

วัคซีนป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูก

                                            

 


           ความสำเร็จจากการค้นพบสาเหตุและวิทยาการของการแพทย์สมัยใหม่ ได้นำมาสู่การพัฒนาเป็นวัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์ (6,11,16,18) ที่ช่วยลดโอกาสในการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70% ในส่วนที่เป็นผลมาจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่สำคัญ โดยองค์การอาหาร และยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US FDA) ได้ให้การรับรองว่าวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคมะเร็งปากมดลูกที่เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์หลักเหล่านี้ได้ 100% ถ้าหาได้รับวัคซีนก่อนที่จะมีการติดเชื้อ นอกจากนี้ วัคซีนดังกล่าวยังสามารถป้องกันการติดเชื้อ HPV ชนิดที่ไม่มีผลต่อการเกิดเป็นมะเร็ง แต่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศได้อีกด้วย

            ด้วยประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดมะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากมดลูก รวมทั้งโรคหูดที่อวัยวะเพศ ทำให้วัคซีนมะเร็งปากมดลูกชนิด 4 สายพันธุ์ (6,11,16,18) นี้ ได้รับการยอมรับและผ่านการอนุมัติในการใช้แล้วในประเทศไทย และกว่า 70 ประเทศทั่วโลกนอกจากนี้ในประเทศชั้นนำอย่างออสเตรเลีย และบางรัฐของสหรัฐอเมริกา ยังได้ประกาศให้วัคซีนนี้เป็นภาคบังคับ สำหรับเด็กหญิงและผู้หญิงในช่วง อายุ 9-26 ปี อย่างไรก็ดีขณะนี้การวิจัยประสิทธิภาพของวัคซีนยังคงดดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง และได้ขยายผลครอบคลุมมาสู่กลุ่มผู้หญิงในช่วงอายุ 27-45 ปีแล้ว

             อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูกแล้วการตรวจพบเป็บสเมียร์ PAP SMEAR อย่างสม่ำเสมอก็เป็นเรื่องที่สูติ-นรีแพทย์ ยังคงแนะนำให้ปฏิบัติอยู่ในส่วนของเชื้อ HPV เฉพาะสายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุหลัก 70% ของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ในขณะที่เราอาจจะยังมีโอกาสติดเชื้อ HPV ในสายพันธุ์อื่น ๆ อีก 30% ที่อาจมีผลต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้เช่นกัน

วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก ต้องฉีดกี่เข็มและจะป้องกันได้นานเท่าไหร?

                 คุณจะต้องได้รับวัคซีนทั้งหมด 3 เข็ม ภายในระยะเวลา 6 เดือน โดยฉีดเข็มแรกแล้วจึงฉีดเข็มถัดมาในเดือนที่ 2 จากนั้น จึงฉีดเข็มสุดทั้ยในเดือนที่ 6 จากข้อมูลการศึกษาได้ยืนยันว่า ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนจะอยู่ได้อย่างน้อย 5 ปี ทั้งนี้ปัจจุบันการศึกษาระยะเวลาของการป้องกันยังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง เพื่อดูว่าภูมิคุ้มกันอาจจะสามารถอยู่ได้ถึง 10 ปี หรือมากกว่านั้น

 
 
ขอบคุณข้อมูลจาก 
 

ผู้หญิงควรจะเริ่มตรวจหาโรค มะเร็งปากมดลูก เมื่อใด

                       


                       ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์ทุกช่วงอายุ ควรมาตรวจคัดกรองเพื่อหาเชื้อ มะเร็งปากมดลูก หรือที่เรียกว่า    แพปสเมียร์ (Pap Smear) อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และผู้หญิงที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ควรเริ่มตรวจเมื่อ อายุ 30 ปีขึ้นไป แต่ในกรณีที่เริ่มพบความผิดปกติแพทย์อาจนัดให้ไปตรวจถี่ขึ้น



                      ทั้งนี้ แพปสเมียร์ คือ วิธีการตรวจหาความผิดปกติ หรือโรค มะเร็งปากมดลูก ที่ค่อนข้างง่าย ใช้เวลาเพียง 2–3 นาทีเท่านั้น เป็นการตรวจที่ทำควบคู่ไปกับการตรวจภายในของผู้หญิง แพทย์จะสอดเครื่องมือเข้าไปในช่องคลอด โดยใช้ไม้ขนาดเล็กขูดเบาๆ เพื่อเก็บเซลล์มาป้ายบนแผ่นกระจก และนำไปตรวจหาความผิดปกติ โดยก่อนที่จะตรวจ ควรเตรียมร่างกายให้พร้อม ไม่ควรตรวจในช่วงระหว่างมีประจำเดือน งดการมีเพศสัมพันธ์ และงดการสวนล้างช่องคลอด หรือสอดยาใดๆ ก่อนเข้าทำการตรวจ ข้อดีคือ วิธีการตรวจแบบแพปสเมียร์นี้ จะช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็น โรคมะเร็งปากมดลูก ได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์
                                                                     
                                                                   การแพปสเมียร์






Combined screening of cervical cancer, breast cancer and reproductive tract infections in rural china.
Source
Department of Preventive Medicine, Changzhi Medical College, ChangZhi, China E-mail : xfeng66@163.com.
Abstract
Objectives: To investigate the current prevalence and knowledge of cervical cancer, breast cancer and reproductive tract infections (RTIs) in rural Chinese women, and to explore the acceptance and feasibility of implementing a combined screening program in rural China. Methods: A population-based, cross-sectional study was conducted among women aged 30 to 59 years old in Xiangyuan County, Shanxi Province from 2009 to 2010. Socio-demographic characteristics, knowledge of cervical cancer, breast cancer and RTIs, and the attitude toward single or combined screening were collected by an interview questionnaire. Each participant received a clinical examination of the cervix, breast and reproductive tract. Examinations included visual inspection, mammography, laboratory tests and pathological diagnosis. Results: A total of 1,530 women were enrolled in this study. The prevalence of cervical precancerous lesions, suspicious breast cancer, suspicious benign breast disease and RTIs was 1.4%, 0.2%, 14.0% and 54.3%, respectively. Cervicitis, trichomonas vaginitis, and bacterial vaginitis were the three most common RTIs among our participants. Television, radio broadcast, and public education during screening were the major source of healthcare knowledge in rural China. Moreover 99.7% of women expressed great interest in participating in a combined screening project. The affordable limit for combined screening project was only 50 RMB for more than half of the rural women. Conclusion: A combined screening program would be more effective and popular than single disease screening projects, while appropriate accompanied education and a co-pay model for its successful implementation need to be explored, especially in low-resource settings.


ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.phuketbulletin.co.th/Lifestyle/view.php?id=122http://www.nci.go.th/cxscreening/index.html
mailto:cervixscreening@hotmail.com

ปัจจัยเสี่ยงและอาการของโรคมะเร็งปากมดลูก

 

       


 
          - การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
          - การมีคู่นอนหลายคน หรือฝ่ายชายที่เราร่วมหลับนอนมีคู่นอนหลายคน
          - การคลอดบุตรจำนวนหลายคน
          - การสูบบุหรี่
          - การมีภาวะคุ้มกันต่ำ โดยเฉพาะเป็นโรคเอดส์
          - การสูบบุหรี่
          - พันธุกรรม
          - การขาดสารอาหารบางชนิด


      ปัจจัยเสี่ยงจากฝ่ายชาย ที่อาจทำให้ผู้หญิงเป็น มะเร็งปากมดลูก

                                                          

         - ผู้ชายที่มีประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์                                         
         - ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย
         - ผู้หญิงที่มีสามีเป็นมะเร็งองคชาติ
         - ผู้หญิงที่มีสามีเคยมีภรรยาเป็น มะเร็งปากมดลูก
         - ผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน


                             อาการและการรักษา โรค มะเร็งปากมดลูก





               โรค มะเร็งปากมดลูก มักพบในผู้หญิงอายุ 35 - 60 ปี แต่ก็อาจพบ มะเร็งปากมดลูก ก่อนวัยอันควรได้ ทั้งนี้ อาการของผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก จะมากหรือน้อยขึ้นกับระยะของมะเร็ง ซึ่งอาการที่พบในผู้ป่วย โรคมะเร็งปากมดลูก ได้แก่

         อาการตกเลือดทางช่องคลอด เป็นอาการที่พบได้มากที่สุดประมาณร้อยละ 80 – 90 ของผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก ลักษณะเลือดที่ออกอาจจะเป็นเลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน มีตกขาวผิดปกติ กลิ่นเหม็น มีเลือดปน หรือมีเลือดออกเวลามีเพศสัมพันธ์ ถ้าเป็นมากและมะเร็งลุกลามออกไปด้านข้าง หรือลุกลามไปที่อุ้งเชิงกรานก็จะมีอาการปวดหลังได้ เพราะไปกดทับเส้นประสาท

         อาการในระยะหลังเมื่อมะเร็งลุกลามหรือไปสู่อวัยวะอื่นๆ ได้แก่ ขาบวม ปวดหลัง ปวดก้นกบ ปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เป็นต้น

โรค มะเร็งปากมดลูก แบ่งเป็น 0-4 ระยะ ดังนี้

ระยะ 0 คือ เซลล์มะเร็งยังไม่กระจาย วิธีรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะ 0 คือ ผ่าตัดเล็ก ซึ่งใช้เวลาเพียง 15 นาที และตรวจติดตามอาการ การรักษาระยะนี้ได้ผลเกือบ 100%

ระยะที่ 1 เซลล์มะเร็งอยู่ที่ปากมดลูก การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะ 1 คือผ่าตัดใหญ่ ผ่าตัดมดลูก เลาะต่อมน้ำเหลืองในเชิงกราน ซึ่งได้ผลดีถึง 80%

ระยะที่ 2 เซลล์มะเร็งกระจายออกจากปากมดลูก โดยยังไม่ไปไกลมาก แต่ก็ไม่สามารถผ่าตัดได้ การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะที่ 2 นี้ ต้องรักษาด้วยการฉายรังสี และการให้เคมีบำบัด (คีโม) ได้ผลราว 60%

ระยะที่ 3 เซลล์มะเร็งกระจายชิดเชิงกราน การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะที่ 3 คือใช้รังสีรักษา และการให้เคมีบำบัด การรักษาระยะนี้ได้ผลประมาณ 20-30%

ระยะที่ 4 เป็นระยะที่เซลล์มะเร็งกระจายทั่วร่างกาย การรักษา มะเร็งปากมดลูก ระยะที่ 4 คือการให้คีโม และรักษาตามอาการ โดยหวังผลได้เพียง 5-10% และโอกาสรอดน้อยมาก แต่ก็ไม่แน่ โดยมีผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก บางรายสามารถอยู่ต่อได้นานถึง 1-2 ปี จึงเสียชีวิต

    ผลข้างเคียงจากการรักษาโรค มะเร็งปากมดลูก

- การผ่าตัด ผลข้างเคียงจากการผ่าตัดที่อาจเกิดได้ ได้แก่ การตกเลือด การติดเชื้อ อันตรายต่ออวัยวะใกล้เคียง
- การฉายแสง (ระยะเวลา 1-2 เดือน) ผลข้างเคียง คือ ผิวแห้ง ปัสสาวะมีเลือดปน อ่อนเพลีย
- ยาเคมีบำบัด ผลข้างเคียงคือ อ่อนเพลีย คลื่นไส้ อาเจียน ผมร่วง มือเท้าชา ซึ่งขึ้นกับยาแต่ละชนิดที่เลือกใช้

ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.siamhealth.net/public_html/Disease/cancer/cervixcancer.htm
http://medinfo2.psu.ac.th/cancer/db/news_ca.php?newsID=1&typeID=18

วันศุกร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2555

โรคมะเร็งปากมดลูก

             
                                                              
                                       
 

                                                   http://www.youtube.com/watch?v=MtWK4r1i8_Y

                              แม้ มะเร็งปากมดลูก จะเป็นโรคที่ป้องกันและรักษาให้หายได้ แต่ โรคมะเร็งปากมดลูก
ยังคงครองแชมป์อันดับหนึ่งของมะเร็งที่คร่าชีวิตผู้หญิง โดยมีอัตราการเสียชีวิตของ มะเร็งปากมดลูก เฉลี่ยสูงถึง 7 คนต่อวัน และพบผู้ป่วย มะเร็งปากมดลูก รายใหม่สูงถึง 6,000 คนต่อปี โดยในจำนวนของ
ผู้มีเชื้อนี้กว่าครึ่งต้องเสียชีวิต เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มักอายและกลัวที่จะไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อ
มะเร็ง ทำให้กว่าจะรู้ว่าป่วยด้วย โรคมะเร็งปากมดลูก นี้ ความรุนแรงของโรคก็อยู่ในระยะลุกลามแล้ว..
ดังนั้น วันนี้เราจึงนำข้อมูลเกี่ยวกับ มะเร็งปากมดลูก มาให้คุณรู้เท่าทัน โรคมะเร็งปากมดลูก กันค่ะ
                      โรคมะเร็งปากมดลูก (Cancer of Cervix) เกิดจากเชื้อไวรัสตัวหนึ่งที่ชื่อว่า HPV (Human Papilloma Virus) ภาษาไทยเรียกกันว่า ไวรัสหูด ไวรัสชนิดนี้ติดต่อจากการสัมผัส ส่วนใหญ่เป็นการสัมผัสทางเพศสัมพันธ์ที่ทำให้มีรอยถลอกของผิวหรือเยื่อบุ และเชื้อไวรัสจะเข้าไปที่ปากมดลูก ทำให้ปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อหรือเซลล์ จากปากมดลูกปกติกลายเป็นระยะก่อนเป็น มะเร็งปากมดลูก 
                  โรคมะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่เกิดที่ปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบบ่อย บทความนี้เกี่ยวกับโรค ปัจจัยเสี่ยง การป้องกัน การวินิจฉัยรวมทั้งการรักษา

มะเร็งคืออะไร

                     ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ปกติเซลล์จะแบ่งตัวตามความต้องการของร่างกาย เช่น มีการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มเมื่อมีการเสียเลือด มีการผลิตเม็ดเลือดข้าวเพิ่มเมื่อมีการติดเชื้อ เป็นต้น แต่มีเซลล์ที่แบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก ซึ่งแบ่งเป็น Benign และ Malignant
                      Benign tumor คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งสามารถตัดออกและไม่กลับเป็นใหม่ และที่สำคัญไม่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น เช่น polyps,cyst,wart
                      Malignant tumor เซลล์จะแบ่งตัวทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียง ที่สำคัญสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่อยู่ไกลโดยไปตามกระแสเลือด และน้ำเหลืองเรียกว่า Metastasis
                       โรคมะเร็งปากมดลูก (Cancer of Cervix) เกิดจากเชื้อไวรัสตัวหนึ่งที่ชื่อว่า HPV (Human Papilloma Virus) ภาษาไทยเรียกกันว่า ไวรัสหูด ไวรัสชนิดนี้ติดต่อจากการสัมผัส ส่วนใหญ่เป็นการสัมผัสทางเพศสัมพันธ์ที่ทำให้มีรอยถลอกของผิวหรือเยื่อบุ และเชื้อไวรัสจะเข้าไปที่ปากมดลูก ทำให้ปากมดลูกมีการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อหรือเซลล์ จากปากมดลูกปกติกลายเป็นระยะก่อนเป็น มะเร็งปากมดลูก
                      ไวรัสเอชพีวี มีทั้งหมดกว่า 100 ชนิด แต่ที่ทำให้ติดเชื้ออวัยวะสืบพันธุ์มีประมาณ 30-40 ชนิด แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มเสี่ยงต่ำและกลุ่มเสี่ยงสูง กลุ่มเสี่ยงต่ำไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง แต่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ที่อวัยวะเพศ หรือหูดที่กล่องเสียง ส่วนกลุ่มเสี่ยงสูงก่อมะเร็งต่างๆ ได้แก่ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด และมะเร็งปากช่องคลอด

                       สำหรับความเสี่ยงในการติดเชื้อเอชพีวีดำเนินได้โดยง่าย เชื้อชนิดนี้เป็นเชื้อที่ทนทานต่อความร้อน และความแห้งได้ดี สามารถเกาะติดตามผิวหนัง อวัยวะเพศ เสื้อผ้า หรือแม้แต่กระจายอยู่รอบตัวในรูปของละอองฝุ่น ซึ่งผู้หญิงทุกคนที่เคยมีเพศสัมพันธ์ย่อมเสี่ยงต่อการติดเชื้อเอชพีวี อย่างไรก็ตาม การติดเชื้อมักหายได้เอง ด้วยภูมิต้านทานของร่างกาย มีเพียง 10% เท่านั้น ที่การติดเชื้อยังดำเนินต่อไป สร้างความผิดปกติให้กับเยื่อบุปากมดลูก และทำให้กลายเป็นมะเร็งในเวลาต่อมา ซึ่งเมื่อเชื้อเข้าสู่ร่างกายจนกระทั่งก่อให้เกิด มะเร็งปากมดลูก ได้นั้น ใช้เวลานานประมาณ 10-15 ปี

                                           



                     โครงสร้างระบบอวัยวะสืบพันธ์ของคุณสุภาพสตรี ประกอบไปด้วยรังไข่ [ovary] ซึ่งต่อกับมดลูกโดยท่อรังไข่ [fallopian tube] มดลูก[uterus]อยู่ระหว่างทวารหนัก [rectum] และกระเพาะปัสสาวะ [bladder] มดลูกติดต่อกับช่องคลอด [vagina] โดยมีปากมดลูก [cervix] เป็นทางติต่อระหว่างมดลูกและช่องคลอด


Epidemiological trends of cancer morbidity at a government medical college hospital, chandigarh, India.
Source
Department of Community Medicine, College of Medicine and JNM Hospitals, Kalyani, India E-mail : drneeraj_g04@yahoo.com.
Abstract
Aim: An epidemiological shift has resulted in increase in the prevalence of non-communicable diseases (NCD). Unlike other NCDs which are easily and definitely preventable, the knowledge of cancer prevention is still limited at present. Various aetiological factors are difficult to control since those are habit forming. Hence an available remedy remains its secondary and tertiary prevention for which appropriate planning is of paramount importance. Evidence based planning requires careful analysis of data with a view to prioritize various cancers. Keeping in view the fact that the adaptation of smoking free status in Chandigarh city might have a far reaching positive effect on the cancer related morbidity of the people, the following study was undertaken to provide base line data to be used for future comparisons. Methods: The registers maintained in the Department of Radiotherapy were checked and those belonging to the years 1999 to 2009 were utilized to analyze the cancer morbidity in respect to age, sex, and year of presentation to health care facility. Results: A total of 4,600 cancer patients (males=2276, females=2324) demonstrated a gradual increase in the number ofcancer cases from 150 in the year 1999 to 783 in the year 2009. The most common cancers amongst males were cancer of gastro-intestinal tract (GIT) and lung (including larynx) constituting 37.3% and 27.1% of the total, respectively. In females these were cancers of breast and cervixrepresenting 33.3% and 17.6% of total cancer cases, respectively, and lung cancer constituted 5.3%. The maximum cases of bone cancer (53.8% of all bone cancers) were observed amongst children aged less than 20 years and lung cancer (48.2% of all lung cancers) among the elderly aged 60-69 years.


ขอบคุณข้อมูลจาก